วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566

อัตลักษณ์ลำพูน

ลําพูน เดิมชื่อเมืองหริภุญไชย เป็นเมืองเก่า มีอายุกว่า 1,340 ปี ตามพงศาวดารโยนกเล่าสืบต่อกันถึงการสร้างเมืองหริภุญไชย โดยฤาษีวาสุเทพเป็นผู้เกณฑ์พวกเม็งคบุตร หรือชนเชื้อชาติมอญมาสร้างเมืองนี้ขึ้น ในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิง เมื่อสร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม “จามเทวี” มาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญไชย สืบราชวงศ์กษัตริย์ต่อมาหลายพระองค์ จนกระทั่งถึงสมัยพระยายีบาจึงได้เสียการปกครองให้แก่พ่อขุนเม็งรายมหาราช ผู้รวบรวมแว่นแคว้นทางเหนือเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา เมืองลำพูน ถึงแม้ว่าจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา แต่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่ผู้ที่เข้ามาปกครอง ดังปรากฏหลักฐานทั่วไปในเวียงกุมกาม เชียงใหม่และเชียงราย เมืองลำพูนจึงยังคงความสำคัญในทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองลำพูนจึงได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ Advertisement ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เมื่อเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย คือ พลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ถึงแก่พิราลัย เมืองลำพูนจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครองสืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน (http://www.lamphun.go.th) บรรพชนคนเมืองลำพูนได้สร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นไว้มากมาย เช่น วัดพระธาตุหริภุญไชย (ถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดชาวปีระกา), อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี, วัดจามเทวี มีเจดีย์บรรจุอัฐิของพระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย, คุ้มเจ้าหลวง (เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 10) เป็นต้น ปี พ.ศ.2559 เมืองลำพูนได้รับคัดเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ให้เป็นเมืองต้องห้ามพลาดพลัส เชื่อมโยงนักท่องเที่ยวกับจังหวัดลำปาง (ลำปาง Plus ลำพูน) ด้วยการประชาสัมพันธ์ที่ว่า “…เมื่อได้ไปเยือน กลิ่นอายของวันวานจากตำนาน ‘หริภุญไชย’ แห่งนี้ จะทำให้คุณเหมือนได้ย้อนไปสู่วิถีวันวาน ที่มีความสงบ การใช้ชีวิตแบบเนิบช้า ไม่เร่งรีบแข่งกับเวลา และความงดงามของศิลปวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดผ่านทางแหล่งท่องเที่ยวทั้งวัดวาอาราม เจดีย์เก่าแก่ ศิลปะล้านนาแท้ที่มีลวดลายอันวิจิตรงดงาม อีกทั้งงานหัตถกรรมที่สั่งสมกันมาอย่างยาวนานจนเป็นสินค้าขึ้นชื่อ อย่างผ้าไหมยกดอก บวกกับอาคารบ้านเรือนต่างๆ ที่ยังคงแบบโบราณเอาไว้ ทำให้ใครต่อใครที่ได้แวะเวียนมา ‘ลำพูน’ พากัน ‘ประทับใจ’ ไม่รู้ลืม…” (http://www.tnews.co.th/html/) อย่างไรก็ตาม ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ ยุคของข้อมูลข่าวสาร ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เทคโนโลยี ฯลฯ อย่างรวดเร็วและไร้ขีดจำกัดต่อทุกประเทศ ทุกองค์กร ทุกท้องถิ่นทั่วโลกอย่างไม่มีข้อยกเว้น สถาบันพระปกเกล้ากับการเปลี่ยนแปลง เป็นโอกาสดีที่ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน รุ่นที่ 3 โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานคณะกรรมการหลักสูตร ภายใต้การดูแลของ รศ.วุฒิสาร ตันไชย, ผศ.ดร.อรทัย ก๊กผล สถาบันได้กำหนดให้มีเอกสารวิชาการกลุ่ม โดยศึกษาเมืองต้นแบบ 8 แห่ง ได้แก่ อบจ.สุพรรณบุรี จังหวัดกีฬา, เทศบาลนครเชียงราย เมืองการศึกษา, เทศบาลเมืองยโสธร เมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, เทศบาลเมืองศรีสะเกษ เมืองสุขภาพ, เทศบาลเมืองลำพูน เมืองอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม, เทศบาลเมืองทุ่งสง เมืองจัดการน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพ, เทศบาลเมืองบึงยี่โถ เมืองผู้สูงอายุ และเทศบาลเมืองพนัสนิคม เมืองสิ่งแวดล้อม ซึ่งเอกสารวิชาการมี 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ประมวลสรุปข้อมูลพื้นฐานต่างๆ แนวทางศึกษา วิธีเก็บข้อมูล ขั้นตอนการศึกษา ส่วนที่ 2 ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ผ่านมา ส่วนที่ 3 ทิศทางและก้าวย่างในอนาคต ส่วนที่ 4 ข้อเสนอการพัฒนาพื้นที่และการปฏิรูป หลักสูตรยังกำหนดให้มีเอกสารวิชาการส่วนบุคคล เพื่อนำเมืองต้นแบบหรือนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาอบรมในหลักสูตรมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนอีกด้วย เจ้าแม่จามเทวี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น